การศึกษากับ VR

เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนซึ่งพบในเกม “โปเกม่อน โก” ที่คนไทยคุ้นเคย กลายเป็นซอฟต์แวร์การเรียนการสอน ดึงภาพอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์ แผนที่โลก หรือสัตว์น้อยใหญ่ให้ปรากฏใกล้ตา กระตุ้นเด็กสนใจเรียนมากขึ้น สร้างประสบการณ์ใหม่ในวงการการศึกษาไทย 4.0
zSpace บริษัทสัญชาติอเมริกันที่มองเห็นโอกาสในการหยิบเทคโนโลยีใหม่อย่าง Virtual reality หรือ VR และ Augmented reality หรือ AR มาสร้างเป็นรูปแบบการเรียนใหม่ที่ทั้งตื่นเต้นและน่าสนใจ กระทั่งปัจจุบันมีใช้ในสถานศึกษากว่า 400 แห่งในอเมริกา
ที่มา wikipedia.org

ห้องเรียนเสมือนจริง
วีอาร์ เป็นการจำลองสภาพแวดล้อมจริงให้เสมือนผู้ใช้อยู่ในนั้นจริง ผ่านการรับรู้ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น ได้ยิน สัมผัส หรือดมกลิ่น และสามารถตอบสนองกับสิ่งจำลองนั้นได้ ส่วนเออาร์เป็นการรวมสภาพแวดล้อมจริง กับวัตถุเสมือนเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ภาพ วีดิโอ เสียงและข้อมูลต่างๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้ เช่น เกมโปเกมอน โก
ณัษฐ์ ชลานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท วรธันย์ เทคโนโลยี จำกัด ผู้นำเข้าซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษาในชื่อ zSpace กล่าวว่า ทั้ง วีอาร์และเออาร์ ถือเป็นเทคโนโลยีอนาคตสำหรับการศึกษา จากเดิมที่ใช้งานในอุตสาหกรรมเกมและภาพยนตร์
zSpace ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแบบออลอินวันที่มีสเปคสูง พร้อมแว่นตาและปากกาสามมิติ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ และชุดสื่อการเรียนการสอน ปัจจุบัน มี 14 แอพพลิเคชั่นที่สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน ครอบคลุมหลักสูตรสะเต็มบวกการแพทย์ จึงตอบโจทย์การศึกษาตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 และในอนาคตก็จะเพิ่มจำนวนแอพพลิเคชั่นขึ้น

“เมื่อเปิดโปรแกรม ผู้ใช้ซึ่งสวมแว่นตาสามมิติพร้อมปากกาสามมิติ เพื่อดึงภาพที่อยู่ในรูปแบบสามมิติ ทั้งสามารถพลิก เลื่อน ขยายหรือย่อ หรือจะดึงออกมาดูทีละส่วนก็สามารถทำได้ เช่น ร่างกายมนุษย์ ชิ้นส่วนยานอวกาศ หรือดาวเคราะห์ แต่ทั้งนี้หากครูอาจารย์ต้องการสอนเด็กห้องใหญ่ สามารถเชื่อมต่อโปรเจคเตอร์ที่มีหน้าจอขนาดใหญ่ โดยที่เด็กไม่จำเป็นต้องใช้แว่นสามมิติก็ได้”
ในสหรัฐอเมริกา zSpace ใช้ได้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนถึงมหาวิทยาลัย แต่สำหรับประเทศไทยอาจจะเริ่มจากระดับมัธยมปลายหรือมหาวิทยาลัย ทางบริษัทอยู่ระหว่างการนำเสนอไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ พบว่า ผู้สอนตื่นเต้นกับเนื้อหา และสนใจที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอน หรือเป็นแล็บเสมือนจริงให้นักเรียนนักศึกษาได้ทดลอง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติความเป็นมาของ VR

ประโยชน์ของ VR